ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองนกกระทุง  อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ปี 2562


1.1ข้อมูลทั่วไป
บริบทชุมชน
                   ตำบลคลองนกกระทุงเป็นพื้นที่อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบเมืองร้อนแบ่งออกเป็น 3 ฤดูคือ ฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว เนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มไม่มีภูเขา ที่ราบเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านและลำคลองสาขาหลายสาย ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกร ส่วนใหญ่ใช้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ นอกนั้นใช้เป็นที่อยู่อาศัยและที่สาธารณะภายในตำบลประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน
                   เนื่องจากสภาพพื้นที่ตำบลคลองนกกระทุง เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ทำให้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้ง่ายส่งผลให้บ้านพักอาศัยและการประกอบอาชีพของประชาชนตำบลคลองนกกระทุงเช่นการทำนาข้าว การเกษตรกรรมและการทำประมงน้ำจืดได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากแต่สามารถฟื้นคืนได้ง่ายโดยความร่วมมือของคนในชุมชน

ลักษณะที่ตั้งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
     ทิศเหนือ       ติดต่อกับ  ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
     ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  ตำบลนราภิรมย์  อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
     ทิศใต้           ติดต่อกับ  ตำบลลำพญา    อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

     ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ  ตำบลบางปลา   อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม


รายชื่อหมู่บ้าน
                         ม.1 ใต้ปากคลองนกกระทุง
                   ม.2 ปากคลองนกกระทุง
                   ม.3 แหลมไร่
                   ม.4 บางวัว
                   ม.5 บางวัว
                   ม.6 หน้าโรงเจ
                   ม.7 คลองนกกระทุง
                   ม.8 คลองนกกระทุง
                   ม.9 คลองบางภาษี
                   ม.10 คลองบางภาษี
                   ม.11 ปากคลองบางภาษี

การคมนาคม
               การคมนาคมสะดวก รวดเร็ว มีถนนสายหลักคือถนน นฐ.3049  บางเลน-นครชัยศรี ตัดผ่านหน้า รพ.สต.คลองนกกระทุง ระยะทางจาก รพ.สต.ถึง รพ.บางเลน ประมาณ 8 กิโลเมตร

 การปกครอง
                   ตำบลคลองนกกระทุงมีรูปแบบการปกครองเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล  แบ่งการปกครองเป็น 11 หมู่บ้าน มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอยู่ภายใต้การปกครอง

สถานที่ราชการ
                   องค์การบริหารส่วนตำบลตำบลคลองนกกระทุง โรงเรียนวัดบางภาษี โรงเรียนบ้านคลองนกกระทุง และสถานที่ทางศาสนา คือ วัดบางภาษี
         
ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
                 ลักษณะของชุมชนชนบท พื้นที่ราบลุ่ม มีความอุดมสมบูรณ์ ภายในพื้นที่มีหนองน้ำในการเกษตร แม่น้ำและลำคลองธรรมชาติ และมีคลองชลประทานไหลผ่าน เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ต้นไม้น้อยใหญ่ตามบ้านเรือนและรอบๆพื้นที่จนไปถึงบริเวณที่มีต้นไม้ขึ้นหนาทึบตามข้างคลองและบริเวณที่ว่างในชุมชน นอกนั้นเป็นส่วนของพื้นที่ชุมชนที่มีการกระจายตัวของบ้านเรือน โดยลักษณะที่ตั้งของบ้านเรือน มีส่วนที่สร้างเป็นกระจุก มีทั้งบ้านเรือนที่ตั้งติดกัน   ซึ่งภายในมีท่อระบายน้ำเสียจากบ้านเรือนก่อให้เกิดน้ำขัง ทิ้งขยะไม่เป็นที่ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก และส่วนที่ที่บ้านเรือนกระจายเป็นหลังเดี่ยวๆออกไป นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ของอุตสาหกรรม ที่มีการตั้งโรงงานอยู่ในหมู่บ้านของตำบลคลองนกกระทุง
           
ข้อมูลด้านสังคม/เศรษฐกิจ
ทุนสังคม(เศรษฐกิจชุมชน ศาสนาและวัฒนธรรม)
                   ความเป็นอยู่และที่อยู่อาศัยผู้อาศัยในชุมชนมีหลายฐานะ ส่วนใหญ่เป็นผู้มีฐานะปานกลาง มีที่อยู่อาศัยถาวร บางส่วนมีฐานะยากจน การประกอบอาชีพ เนื่องจากตำบลคลองนกกระทุงภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่นทำนาข้าว ทำสวน เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เป็นต้น ชาวบ้านจะนำผลผลิตที่ได้จากการเกษตรไปจำหน่ายโดยตรงบ้างบางส่วนโดยมีสถานที่จำหน่ายที่ตลาดน้ำลำพญา ตลาดเมืองรัตติยาและบ้านรังนกในวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันเสาร์ อาทิตย์ ผ่านพ่อค้าคนกลางบางส่วน อาชีพรองลงมาคือรับจ้างโรงงานอุตสาหกรรมและรับจ้างทั่วไป รับราชการและค้าขายเป็นส่วนน้อย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 



ด้านเศรษฐกิจ
*   โรงงานอุตสาหกรรม 3 โรง
*   สถานีบริการน้ำมัน 1 แห่ง
*   โรงแรม 1 แห่ง - คุ้มหม่อมไฉไล
*   กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสาน(ผักตบชวา)  1 กลุ่ม
*   สถานที่ผลิตอาหาร(ที่ต้องผ่านการประเมินGMP)   จำนวน 1 แห่ง
*   สถานที่ท่องเที่ยว - เมืองรัตติยา   - บ้านรังนก (ตลาดนัดสุขภาพ)

องค์กรในชุมชน
1.องค์การบริหารส่วนตำบล คลองนกกระทุง กระทรวงมหาดไทย
2.ศูนย์เด็กเล็กตำบลคลองนกกระทุง  จำนวน 1 แห่ง จำนวนนักเรียน 41 คน ผู้ดูแล 3 คนสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง
3.โรงเรียนจำนวน 2 โรง จำนวนนักเรียนทั้งหมด 108 คน
4.ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ตำบลคลองนกกระทุง 
5.สถานที่สำคัญทางศาสนา 1 แห่ง 
6.ชมรมผู้สูงอายุตำบลคลองนกกระทุง 
7.สวัสดิการชุมชนของตำบลคลองนกกระทุง 
8.กองทุนหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน 
9.การทำฌาปนกิจศพสงเคราะห์หมู่บ้าน 
10.การให้สวัสดิการแก่ชุมชน โดยการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ
              
                  ความเชื่อด้านสุขภาพ/การเข้าถึงการบริการ
                   ประชาชนมีการดูแลสุขภาพของตนเองมากน้อยแตกต่างกันไปตามครอบครัว บางครอบครัวที่ทุกคนใส่ใจกับสุขภาพก็จะมีการดูแลตนเองที่ดี ป้องกันและควบคุมไม่ให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค  จนกระทั่งครอบครัวที่ไม่ให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเอง และบางรายมีความเชื่อ เข้าใจผิดๆ ซึ่งทราบข้อมูลได้จากการสังเกต โดย การพูดคุยขณะจัดกิจกรรมในชุมชนและจัดกิจกรรมที่รพ.สต. การประชาคม การลงเยี่ยมบ้านของรพ.สต. และการเข้ามารับบริการรักษาในรพ.สต. เมื่อมีการเจ็บป่วย ถ้าเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ ประชาชนมักเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และคลินิกใกล้เคียง ถ้าเจ็บป่วยมาก จะเลือกรักษาที่โรงพยาบาลบางเลน โรงพยาบาลใกล้เคียงอื่นๆ และโรงพยาบาลที่ตนเองมีสิทธิ์รักษา และในกรณีที่เข้ามารักษาที่รพ.สต.แล้วพบว่าเกินความสามารถและเครื่องมือที่มีอยู่ ทาง รพ.สต.จะมีระบบส่งต่อการรักษาไปโรงพยาบาลแม่ข่าย


บริบทองค์กร
                   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองนกกระทุง ตั้งอยู่เลขที่ 22 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีพื้นที่ 1 ไร่ กรรมสิทธิ์พื้นที่ โดยนายจำลอง  ศรีคำหู้ เป็นผู้บริจาคที่ดิน
         
หมู่บ้านที่รับผิดชอบจำนวน  11 หมู่
                   หมู่ 1 ใต้ปากคลองนกกระทุง
                    หมู่ 2 ปากคลองนกกระทุง 
                    หมู่ 3 แหลมไร่
                    หมู่ 4 บางวัว     
                    หมู่ 5 บางวัว  
                    หมู่ 6 หน้าโรงเจ   
                    หมู่ 7 คลองนกกระทุง           
                    หมู่ 8 คลองนกกระทุง     
                    หมู่ 9 ปากคลองบางภาษี    
                    หมู่ 10 คลองบางภาษี     
                    หมู่ 11 ปากคลองบางภาษี

   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองนกกระทุงเป็นรพ.สต.ขนาดกลาง มีประชากร จากทะเบียนราษฏร์  จำนวน  3,004  คน ชาย 1,468 คน หญิง 1,536 คน มีบุคลากรทั้งหมด 4 คน อัตราส่วนเจ้าหน้าที่ต่อประชากรในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขและเจ้าพนักงานสาธารณสุข เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (1 : 1,250 คน) แต่ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเพียงเล็กน้อย (เกณฑ์ที่กำหนด 1 : 2,500) มีขอบเขตการดำเนินงานด้านการบริการสาธารณสุขแบบผสมผสาน ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรคการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งหาแนวทางและร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ในพื้นที่รับผิดชอบที่มีการบริการทั้ง เชิงรับ และเชิงรุก โดยเน้นการเป็นโรงพยาบาลคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ในการจัดการด้านสุขภาพ เน้นให้บริการแบบองค์รวม ทั้งด้าน กาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยร่วมกันกับทุกภาคส่วนและภาคีเครือข่าย


อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 82 คน
สัดส่วนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อประชากร เท่ากับ  1 : 37   คน